วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ผักเสี้ยน (CLEOMACEAE)

ชื่ออื่น

ผักเสี้ยน ผักเสี้ยนบ้าน ผักเสี้ยนขาว ผักเสี้ยนส้ม ผักเสี้ยนตัวผู้ ดอกผักเสี้ยนไทย

ผลเป็นฝักเรียวยาว 3.8-7 เวนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-5 มิลิเมตร ฝักแก่จะแตกเป็นแฉก เมล็ด รูปไต ขนาดเล็กคล้ายเมล็ดถั่วเรียงกันอยู่ในฝัก

การขยายพันธุ์
ใช้เมล็ดนิเวสวิทยาและการแพร่กระจาย พบได้ทั่วไปตามธรรมชาติ บริเวณที่ราบ ในสวนดินร่วน ชื้น พบมากในฤดูฝน

ประโยชน์และความสำคัญ
ทางสมุนไพร ต้น แก้โรคโลหิตและระดูเน่าเสียฆ่าพยาธิไส้เดือน แก้พิษแมลงป่องต่อย ใบ แก้ปวดเมื่อย ปวดหู พอกรักษาฝีบรรเทาอาการระคายเคือง เมล็ด ขับปัสสาวะ ฆ่าพยาธิไส้เดือน บรรเทาอาการระคายเคือง ผักเสี้ยนดอก มีรสเปรี้ยวร้อน ช่วยบรรเทาอาการมีเสมหะขับเสมหะ ทางอาหาร ลำต้น ยอด ใบ และดอกอ่อน ใช้ดองรับประทานเป็นผักจิ้ม หรือต้มกับปลา หมู กระดูกหมู เป็นต้น

----------------------------------------------------

ผักเสี้ยนดอง
ส่วนประกอบ
ยอดอ่อน ผักเสี้ยน 1 ก.ก.
เกลือ 1 ถ้วยตวง
ข้าวเหนียวนึ่ง 1/2 ถ้วยตวง
น้ำตาลทราย

วิธีทำ
เด็ดแต่ง เอาเฉพาะส่วนอ่อน (ส่วนก้านแข็งจะไม่เอา) ล้างผักให้สะอาด หลายๆน้ำ เอาภาชนะเคลือบ หรือ สเตนเลสมา ใส่ผักลงไปโรยเกลือ 1/2 ถ้วย คั้นนวดผัก จนนิ่ม มีน้ำเขียว ไหลออกมา รินน้ำเขียวทิ้งไป เอาเกลือที่เหลือ น้ำตาล(นิดจริงๆ)และข้าวเหนียวนึ่งสุก ลงอ่างบี้ข้าวเหนียวให้แตกออกจากกัน เคล้าผสมกัน บรรจุในหม้อเคลือบ มีฝาปิดมิดชิด 2 วันก็เปรี้ยวแล้ว

-------------------------------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น